2551/11/24

บริษัทหลักทรัพย์เร่งหาธุรกรรมใหม่

บริษัทหลักทรัพย์ฯ ปีหน้า เล็งหารายได้ธุรกรรมใหม่ – เพิ่มทางเลือกในการลงทุนแก่ลูกค้า บล.เคจีไอ เตรียมออกกองทุนอีทีเอฟ อิงดัชนีต่างประเทศหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งออกวอร์แรนต์อนุพันธ์อืงหุ้นเทรดต่างประเทศและสตรัคเจอร์โน๊ต เผยอยู่ระหว่างศึกษาเกณฑ์และค่าลิขสิทธิ์ ด้าน บล.บัวหลวง เปิดให้บริการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ฯ มี.ค.หวังแชร์ 5% ขณะที่ บล.ฟิลลิป เริ่มทำกองทุนส่วนบุคคล เน้นลงทุนเอเชียแปซิฟิค -ธุรกิจเอสบีแอล พร้อมทั้งเปิดให้นักลงทุนได้ซื้อขายในตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับหุ้น จะเปิดให้ซื้อขายวันแรก 24 พฤศจิกายนนี้ พร้อมรักษาแชร์อยู่ที่ 3.2-3.3% นางสาวนฤมล อาจอำนวยวิภาส ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI เปิดเผยว่า จากภาวะตลาดหุ้นไม่ดีนั้น เป็นช่วงที่ทำให้บริษัทมีการศึกษาที่จะออกสินค้าใหม่ๆ ในปีหน้า 4 สินค้า ประกอบด้วย 1.การออกกองทุนอีทีเอฟ 3 คือ ที่อ้างอิงดัชนีต่างประเทศ คือ ดัชนีนิเคอิ และฮั่งเส็ง ฯลฯ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษากฎเกณฑ์และค่าลิขสิทธิ์ในการที่จะออกอีทีเอฟกับดัชนีของประเทศดังกล่าว ทั้งนี้ การที่ดัชนีในต่างประเทศปรับตัวลดลงมาจากปัญหาวิกฤตทางการเงินสหรัฐนั้น ถือว่าเป็นโอกาสที่จะออกอีทีเออ้างอิงดัชนี เพราะ จะได้ลงทุนในราคาที่ต่ำ ซึ่งหากรอให้ภาวะตลาดดีแล้วเข้าไปซื้อนั้นอาจจะซื้อไม่ทันทำให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงไปทำให้ต้องซื้อในราคาที่แพง และบริษัทกำลังพิจารณาออกอีทีเอฟกลุ่มอุตสาหกรรม และอีทีเออ้างอิงกับดัชนีฟุ้ตซี่หุ้นขนาดใหญ่ (FTSE Large Cap ETF ) รวมถึงอีทีเอฟที่อ้วงอิงกับสินค้าคอมมูนิตี้ (ETC) เช่น น้ำตาล น้ำมัน กาแฟ ข้าวโพด ถั่วเหลืองสินค้าที่2 คือการออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW)อ้างอิงกับหุ้นที่ซื้อขายในกระดาน ประมาณ 10 หุ้นแรกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการนำเข้าจดทะเบียน ซึ่งคาดว่าในไตรมาส1/52ก.ล.ต.จะมีการออกเฏณฑ์ในการเสนอขาย และบริษัทคาดว่าจะสามารถออกDW ได้ในไตรมาส2/52 โดยคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท โดยสินค้าที่3 คือ การออกสตรัคเจอร์โน๊ตที่อ้างอิงกับหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แล้วนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และสินค้าที่ 4 คือ การพัฒนาระบบการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์(SBL)บนระบบการส่งคำซื้อขายโดยตรง (DMA)เพื่อรองรับการทำธุรกรรมอาบีถาด ของลูกค้าสถาบันต่างประเทศ และพัฒนาระบบSBL ให้มีการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต สำหรับลูกค้าบุคคลเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว "สำหรับสินค้าใหม่ของบริษัทคาดว่าสินค้าแรกที่จะสามารถออกได้ คือ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่อ้างอิงหุ้นและนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ "นางนฤมล กล่าว อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ บริษัทจะมีการจัดสัมมนา หัวข้อ "OTC Equity Derivative Warrants in Hong Kong &Taiwan " เพื่อให้ความรู้แก่นักลงทุน และพร้อมเปิดตัว KGI Thailand และ Rabobank ในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจตราสารอนุพันธ์นอกตลาด ที่อ้างอิงกับสินค้า หรือดัชนีต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่นสิงคโปรื ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และยุโรป นายวสันต์ จันทร์สัจจา ผู้อำนวยการสายงานผลิตภัณฑ์พิเศษ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง จำกัด (มหาชน)หรือ BLS เปิดเผยว่า บริษัทคาดจะประกอบธุรกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ( SBL )ในเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการรอการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ใบอนุญาตและอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบเพื่อให้ทำงานร่วมกับบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ TSD ทั้งนี้ จากการที่บริษัทมีการทำธุรกิจSBL เพื่อที่จะเพิ่มช่องทางการลงทุนให้กับนักลงทุนมากขึ้นในช่วงภาวะตลาดหุ้นไทยผันผวนจากราคาหุ้นปรับตัวลดลง ซึ่งจะทำให้นักลงทุนสามารถที่จะยืมหลักทรัพย์มาขายเพื่อทำกำไร และซื้อคืนในช่วงที่ราคาต่ำกว่าที่ได้ขายชอร์ตเพื่อทำกำไรส่วนต่างราคาของหลักทรัพย์ที่ยืม โดยเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ซึ่งที่ผ่านมามีลูกค้าได้มีการสอบถามในเรื่องดังกล่าวเข้ามาพอสมควร สำหรับในปีแรกบริษัทตั้งเป้ามีส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) SBL 5% โดยเน้นให้บริการฐานลูกค้ารายย่อยของบริษัท จากที่บริษัทมีฐานลูกค้าถึง 20,000 บัญชี ขณะที่บริษัทคาดว่าในปีหน้าจะมีมูลค่าการขายชอร์ตเฉลี่ยประมาณ 1,200-1,500 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งลดลงจากปีนี้ที่มีเฉลี่ย 1,800 ล้านบาทต่อเดือนเนื่องจากมองว่าภาวะตลาดหุ้นไทยคงปรับตัวลดลงไม่แรงเหมือนกับในปีนี้ที่ดัชนีหุ้นปรับตัวลดลงแรง แต่เชื่อว่าดัชนีจะมีการแกว่งตัวทำให้มีช่วงในการทำกำไรจากการขายชอร์ตได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทจะจัดให้เจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง)ของบริษัทมีการแนะนำให้ลูกค้ามีการเข้ามาทำธุรกิจSBL โดยบริษัทจะมีการคิดค่าธรรมเนียมการยืมหลักทรัพย์อยู่ที่ 7% ต่อปี และค่าเนียมการให้ยืมหลักทรัพย์อยู่ที่ 3% โดยบริษัทคาดว่าจะมีรายได้ค่าธรรมเนียมในการยืมหลักทรัพย์ปีแรก 1 ล้านบาท และมีค่าธรรมในการส่งคำสั่งการขายชอร์ตและซื้อหุ้นคืนประมาณ 5-6 ล้านบาท นายสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนการดำเนินงานปี 2552 ในการเพิ่มธุรกรรมใหม่ คือ การให้บริการกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางและให้นักลงทุนมีความสะดวกในการลงทุนมากขึ้น ซึ่งในช่วงแรกจะเปิด 3 กองทุนก่อน คาดว่ามีมูลค่ากองทุนประมาณ 1 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อลงทุนในต่างประเทศ โดยเน้นในแถบเอเชียแปซิฟิค ซึ่งผู้บริหารเข้ามานั้นจะเป็นผู้จัดการกองทุนจากประเทศสิงคโปร์เข้ามาดูแลจากที่มีประสบการณ์ที่สูง คาดว่าปีแรกในการทำธุรกรรมดังกล่าวจะมีมูลค่ากองทุนรวมประมาณ 100 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทมีแผนที่จะทำธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) ภายในอีก 2 เดือนหน้า พร้อมทั้งเปิดให้นักลงทุนได้ซื้อขายในตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับหุ้น(Stock Futures) ซึ่งจะเปิดให้ขายในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ เป็นวันแรก รวมถึงเตรียมพร้อมสำหรับการซื้อขายในตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับทองคำ(Gold Futures) ด้วย ซึ่งบริษัทพยายามจะรักษามาร์เกตแชร์ให้อยู่ในระดับประมาณ 3.2-3.3% ซึ่งเทียบเท่ากับปัจจุบัน แต่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่มี 2.5-2.6%

ไม่มีความคิดเห็น: